...ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ..จากทีมศูนย์สารสนเทศ.รพ.รร.จปร..

วิธีการดูแลรักษาCOMPUTERด้วยตนเอง (ภาค 2)






ห้ามเคลื่อนย้ายตัวเครื่องในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน




ควรมีตารางเวลาสำหรับการสำรองข้อมูลสำคัญๆ ทุกๆ 1 หรือ 2 สัปดาห์




ควรใช้คำสั่ง Scandisk หรือ Defrag เพื่อตรวจสอบ Hard Disk ทุกๆ สัปดาห์

วิธีการดูแลรักษาCOMPUTERด้วยตนเอง (ภาค 1)






- ใช้เครื่องในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
- มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
- ติดตั้งบนโต๊ะที่แข็งแรง






- ควรต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับ UPS หรือ STABILAZER หากกระแสไฟฟ้าไม่คงที่








- ล้างหัวอ่าน-เขียนของ Disk Drive เป็นประจำ(ทุก 1 หรือ 2 เดือน)








- ทำความสะอาดภายนอกตัวเครื่องด้วยตนเอง ทุกๆ 1 เดือน








- และส่งให้ช่างทำความสะอาดภายในตัวเครื่อง ทุกๆ 3 เดือน













- ควรรู้จักโปรแกรมประเภท Utilities
- หรือ Diagnostic Test เพื่อทดสอบการทำงาน ของเครื่อง ทุกๆ เดือน











- หลังจากการเลิกใช้งานเครื่อง ควรทำการสแกนไวรัสทุกครั้ง
- ควรหาผ้า มาคลุมเครื่องให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง







- อย่าปิด หรือ เปิดเครื่องบ่อยๆ จะทำให้ สวิทช์ หรือเครื่องเสียหายได้
- อาจทำให้ Hard Disk เสียได้


ขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/guide/user/internet/maintain/

วิธี Scan Virus จาก Flash Drive


คุณเคยตรวจสอบไวรัสเวลาใช้ Flash Drive หรือไม่
Flash Drive หรือ Thumb Drive เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูลแบบเคลื่อนที่ ทำให้เราสะดวกในการนำไปใช้งานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ การนำไปใช้ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สะดวกกับการแพร่กระจายของไวรัสเป็นอย่างมาก เพราะไวรัสเป็นอย่างมาก เพราะไวรัสถูกโอนย้ายผ่าน Flash Drive ได้สะดวกง่ายขึ้น เมื่อเราทราบช่องทางในการแพร่กระจายของไวรัสผ่านทาง Flash Drive แล้ว เราจึงควรตรวจสอบหรือ scan virus ก่อนการใช้งานทุกครั้ง
วิธี Scan Virus จาก Flash Drive
1.เสียบ Flash Drive เข้าสู่ Port USB
2.ดับเบิ้ลคลิก My Computer เพื่อเปิดโปรแกรม
3.ค้นหา Drive ของ Flash Drive อาจเป็น Drive E ; F เป็นต้น
4.ห้ามดับเบิ้ลคลิกที่ Flash Drive นั้นโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ไวรัสแพร่กระจายได้
5.ให้คลิกขวา Drive ของ Flash Drive เลือกคำสั่ง "Scan for Virus" คำสั่งนี้อาจจะแตกต่างกันได้แล้วแต่โปรแกรมที่คุณใช้
6.รอจนกระทั่งโปรแกรม scan virus จนเสร็จ
" ไม่อยากไปใช่ไหมครับ แล้วอย่าลืม Scan Virus ก่อนใช้งานทุกครั้งนะครับ "
เทคนิคนี้สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น USB Hard Disk , Memory Card ประเภทอื่น ๆ ได้ด้วยครับ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล :http://www.it-guides.com/index.php/tips-a-techniques/others-tips/242-scan-virus-flash-drive

รู้จักเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง


เราสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องของเราว่าอุปกรณ์อะไร รายละเอียดเป็นอย่างไร ได้ โดยดูที่ System Properties โดยคลิ๊กเม้าปุ่มขวาที่ My computer เลือก
1. Properties จะปรากฏ System Propeties ขึ้นมา ให้เราคลิ๊กที่ Tab Device Manager เราสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ภายในเครื่องของเราได้
ถ้าเรามีเครื่องพิมพ์ ก็สั่งพิมพ์มาเก็บไว้เลยจะเป็นการดีที่สุดป้องกันการลืม
2. วางแผนในการเก็บรักษา
การเก็บรักษาไฟล์ข้อมูลในโฟล์เดอร์เราจะต้องเก็บรักษาให้อยู่ในส่วนที่ค้นหาง่ายและมีชื่อที่สามารถจดจำได้ง่าย จะช่วยลดความเสี่ยงที่เราจะลบโปรแกรมหรือข้อมูลเหล่านั้นโดยไม่ได้ตั้งใจ อีกทั้งฮาร์ดดิสก์ที่มีการบริหารรวบรวมที่ดีจะสามารถทำ การแบ๊กอัปสำรองข้อมูลได้ง่ายกว่าและเร็วกว่า และไฟล์ไหนที่เราไม่ได้ใช้เป็นเวลาอย่างน้อย 2 เดือน ควรจะลบไฟล์นั้นออกไป เพราะ ดิสก์ที่ใส่ข้อมูลมากๆ จนเกือบเต็มความจุของมันมักมีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดพลาดได้มากกว่า และช้ากว่าฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ได้ใส่ข้อมูลจนแน่น
3. ป้องกันไวรัส
แม้ว่าไวรัสคอมพิวเตอร์ที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับเครื่องและข้อมูลของเราได้ ซึ่งในบางครั้งก็ดูออกจะเป็นเรื่องตื่นตระหนกจนเกินเหตุ แต่ความเป็นจริงแล้วไวรัสไม่สามารถที่จะทำอันตรายให้กับเครื่องและข้อมูลของเราได้ ถ้าหากเราไม่ได้สั่งให้มันทำงาน (execute) ไวรัสนั้นติดมาได้ 2 ทาง คือ
3.1 จากแผ่นดิสก์อื่นที่เรานำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นที่เรายืมหรือก๊อป+++ของเพื่อนมา หรือ แผ่นcd เถื่อนที่เราซื้อมาจากพันธุ์ทิพย์
3.2 จากอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมที่เราดาว์นโหลดมา หรือ ไวรัสที่ส่งมากับอีเมล์ วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือเราต้องไม่นำมาใช้ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้เราหาโปรแกรมสำหรับสแกนไวรัสมาสแกนไวรัสก่อนที่จะนำมาใช้ ยกตัวอย่างเช่น McAfee’s VirusScan Norton AntinVirus หรือ Pc-cillin
แต่ในบางครั้งไวรัสตัวนั้นอาจเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่โปรแกรมเหล่านั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้ เราก็จำเป็นต้องไปดาวน์โหลดโปรแกรมสแกนไวรัสเวอร์ชั่นใหม่ ๆ มาใช้งานจากเวบไซด์เหล่านั้น
4. รักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สะอาดอยู่เสมอ
ฝุ่นสามารถทำให้ชิปภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราร้อนขึ้นมามากกว่าธรรมดาและยังเป็นตัวขัดขวางการไหลเวียนระบายความร้อนของอากาศอีกด้วย อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งให้เราถอดปลั๊กต่างๆ และเปิดฝาเครื่องขึ้นมา และเป่าฝุ่นออก อย่าเช็ดด้วยเศษผ้า ให้ใช้ปากเป่าหรือกระป๋องอัดลมสำหรับฉีดลมอย่างใดอย่างหนึ่งในการเป่าฝุ่น
5. ปิดเครื่องด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
เมื่อใดก็ตามที่เสร็จการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วจะเลิกการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่าได้ปิดเครื่องเลยทันที เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์มีการเก็บหน่วนความจำแคช ปิดไฟล์ และ เซฟข้อมูลคอนฟิกคูเรชั่นต่างๆ ก่อนที่เราจะปิดเครื่อง
เราจำเป็นต้องต้องสั่งให้คอมพิวเตอร์ของเราชัตดาวน์ (shutdown) ก่อนเสมอ โดยไปที่ Start –> Shutdown แล้วกด OK เท่านี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก็จะจบการทำงานได้อย่างสวยงาม

ขอบคุณแหล่งข้อมูล :http://www.thainotebook.com

การใช้งาน Disk Cleanup สำหรับลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออกจาก ฮาร์ดดิสก์

Disk Cleanup เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มีมาให้ใน Windows ใช้สำหรับการทำความสะอาดฮาร์ดดิสก์ หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือใช้สำหรับลบไฟล์ต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นในการใช้งานทิ้ง เพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีเนื้อที่เหลือใช้งานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นควรที่จะทำการสั่งโปรแกรม Disk Cleanup เป็นประจำ อาจจะสักประมาณสัปดาห์ละครั้ง

การเรียกใช้โปรแกรม Disk Cleanup
เรียกใช้โปรแกรม Disk Cleanup โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Disk Cleanup ตามรูปตัวอย่าง

กดเลือกที่ Disk Cleanup เพื่อเริ่มต้นการทำงานของโปรแกรม

ครั้งแรก ให้ทำการเลือกฮาร์ดดิสก์ ที่ต้องการทำการ Cleanup ก่อนและกดปุ่ม OK

หน้าตาของเมนูต่าง ๆ ในโปรแกรม Disk Cleanup ส่วนหลัก ๆ ที่ต้องทำการเลือกคือในช่องของ Files to delete โดยทำการเลือกสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการจะลบทิ้ง และกดที่ OK เพื่อเริ่มต้นการลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออก

อาจจะมีเมนูการยืนยันการลบอีกครั้งก็กด Yes เพื่อยืนยันการลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นทิ้ง รอสักพักก็เป็นอันจบขั้นตอนครับ

การตั้งให้โปรแกรม Disk Cleanup ทำงานแบบอัตโนมัติ
นอกจากการสั่งเรียกโปรแกรม Disk Cleanup ให้ทำงานตามต้องการแล้ว ยังสามารถทำการตั้งโปรแกรมนี้ให้ทำงาน โดยอัตโนมัติ เมื่อฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่มีพื้นที่เหลือน้อยได้ วิธีการคือเรียกโปรแกรม Disk Cleanup เลือก Drive ที่ต้องการตั้ง และหลังจากนั้น กดเลือกที่ป้ายของ Setting

กดเลือกที่ช่อง If this drive runs low on disk space.... เพื่อกำหนดให้โปรแกรมนี้ทำงานเมื่อพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์เหลือน้อย ๆ จากนั้นก็กด OK หลังจากนี้ ถ้าหากฮาร์ดดิสก์ใกล้จะเต็ม โปรแกรมนี้ก็จะเริ่มต้นทำงานทันที

ก็พอเป็นแนวทางคร่าว ๆ นะครับ ที่จริงก็ไม่จำเป็นเท่าไรนัก แต่อย่างน้อยก็ดีกว่าการที่เราเข้าไปลบไฟล์ใน Folder ต่าง ๆ โดยตรงซึ่งบางครั้ง การลบไฟล์แบบนั้น อาจจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ของ Windows ตามมาก็ได้

ขอขอบคุณที่แหล่งที่มา http://www.bcoms.net

การแก้ปัญหาครื่องแฮงค์

เครื่องแฮงค์เพราะไดรเวอร์
ไดรเวอร์คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการหรืออธิบายง่ายๆ ก็คือคอยทำหน้าที่แนะนำให้ระบบปฏิบัติการรู้จักและทำงาน ร่วมกับฮาร์ดแวร์ได้นั่นเอง ดังนั้นหากอุปกรณ์ตัวไหนที่ไม่ได้ลงไดรเวอร์ ก็อาจทำให้ระบบปฏิบัติการไม่รู้จัก จึงไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ดูแล้วไดรเวอร์ ไม่น่าจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญหาใช่มั้ยครับ แต่เนื่องจากว่า บางครั้งไดรเวอร์ที่เป็นเวอร์ชั่นใหม่ไม่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ตัวเก่าได้ มีผู้ใช้หลายคนยกเครื่องมาให้ ช่างคอมพิวเตอร์ตรวจเช็คเนื่องจากปัญหาเครื่องแฮงค์บ่อยพอสอบถามถึงปัญหาก็พบว่าผุ้ใช้ได้เคยอัพเดท ไดรเวอร์รุ่นใหม่ที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อตรวจเช็คแล้วก็พบว่าไดรเวอร์ที่ผุ้ใช้ อัพเดทนั้นเป็นไดรเวอร์รุ่นทดสอบที่หลายเว็บไซต์มักชอบนำมาให้ดาวน์โหลดไปทดสอบกันดูก่อน เมื่อไดรเวอร์ยังไม่สมบูรณ์ จึงยังไม่สามารถทำงานเข้ากับฮาร์ดแวร์ บางตัวได้จึงทำให้เกิดปัญหาเครื่องแฮงค์ นั่นเอง ซึ่งปัญหานี้พบได้บ่อยมาก

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของ ผู้ใช้ก่อน หากพบเครื่องที่มีอาการแฮงค์หลังจากที่ผู้ใช้อัพเดทไดรเวอร์ลงไปให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเกิดจากสาเหตุนี้ วิธีแก้ปัญหาก็คือให้จัดการถอดไดร์วเวอร์ที่มีปัญหานั้นทิ้งไป แล้วลงไดร์วเวอร์ตัวเก่าที่เคยใช้งานได้ดีกลับไปเหมือนเดิม โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ให้คลิกขวาที่ไอคอน My Computer > Properties
2. ที่หน้าต่าง System properties ให้คลิกแท็ป Device Driver
3. จากนั้นคลิกขวาที่ไดรเวอร์ของอุปกรณ์ที่มีปัญหา แล้วเลือกคำสั่ง Remove ไดรเวอร์นั้นออกไปแล้วลงไดรเวอร์ตัวเก่าที่เคยใช้งานได้ดีกลับไปเหมือนเดิม

แต่บางครั้งไดร์วเวอร์ที่มากับอุปกรณ์ตั้งแต่ตอนแรกที่ซื้อมา ก็อาจทำให้มีปัญหาได้เหมือนกัน โดยจะ พบบ่อยมากในไดร์วเวอร์ของการ์ดแสดงผล 3 มิติ และซาวด์การ์ดยี่ห้อโนเนมทางแก้ปัญหาคือ ต้องไปดาวน์โหลดไดรเวอร์เวอร์ชั่นใหม่จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตอุปกรณ์ยี่ห้อที่ใช้อยู่เท่านั้น ไม่ควรไปดาวน์โหลดจากเว็บไซต์อื่น เพราะจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้

เครื่องแฮงค์เพราะโปรแกรมแอพพลิเคชั่น
หลายครั้งที่อาการแฮงค์มักเกิดหลังจากโปรแกรมที่ติดตั้ง อยู่ในเครื่องเข้ากันไม่ได้ บางไฟล์ของโปรแกรมตัวหนึ่งอาจเข้าไปเปลี่ยนแปลงไฟลืบางตัวของระบบปฏิบัติการจึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นตามมาได้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากไฟล์นามสกุล DLL ซึ่งเป็นไฟล์สาธารณะของระบบปฏิบัติการ ที่มักจะมีหลายโปรแกรมที่เราติดตั้ง เข้ามาขอใช้ไฟล์นามสกุล DLL ด้วย แต่บางโปรแกรมก็มีไฟล์ DLL เวอร์ชั่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าไฟล์ DLL ตัวเดิมของระบบปฏิบัติการ เมื่อเราติดตั้งโปรแกรมนี้ลงไปมันก็จะเขียนไฟล์ DLL ตัวใหม่ทับตัวเก่าทันที จึงทำให้เกิดปัญหาเครื่องแฮงค์ตามมา เพราะไฟล์ DLL เวอร์ชั่นใหม่ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการได้

สำหรับแนวทางแก้ไขของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมของการใช้งานของผู้ใช้ก่อน เมื่อพบเครื่องที่มีลักษณะเครื่องแฮงค์หลังจากที่ผุ้ใช้ลงโปรแกรมตัวใหม่ลงไป ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าอาจ มาจากสาเหตุนี้
วิธีการแก้ไขก็คือ หากเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบนวินโดวส์ 98 / Me ให้บูตเครื่องด้วยแผ่นบูตแล้วพิมพ์คำสั่ง Scanreg / restore เพื่อเป็นการย้อนกลับไปใช้รีจีสทรีที่วินโดวส์ได้แบ็คอัพเก็บไว้ 5 วันหลังสุด ก็ให้เราเลือกวันที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหาเพียงเท่านี้ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ครับ

สำหรับวินโดวส์ Me และวินโดวส์ XP ก็สามารถใช้โปรแกรม System Restore เพื่อย้อนกลับไปยังวันที่ไม่เกิดปัญหาได้ โดยสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้ดังนี้

1. คลิกปุ่ม Start > Program > Accessories > System Tools > System Restore
2. เมื่อปรากฏโปรแกรม System Restore ขึ้นมาให้คลิกที่ช่อง Restore my computer to earlier time แล้วคลิกปุ่ม Next
3. เลือกวันที่และจุด Checkpoint ที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหา โดยวันที่ที่สามารถย้อนกลับไปได้จะเป็นช่องหนาๆ เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next
4. จะมีหน้าต่างแสดงรายละเอียดของวันที่และจุด Checkpoint ที่ต้องการย้อนระบบกลับไป ให้เราคลิกปุ่ม Next แล้วโปรแกรมก็จะเริ่มทำการย้อนระบบกลับไปยังวันที่และจุด Checkpoint ที่เรากำหนด
ขอบคุณแหล่งข้อมูล http://www.bcoms.net

ปัญหาเครื่องพิมพ์เอกสาร (ภาค 2)



เครื่องพิมพ์พ่นหมึก (Inkjet)
พิมพ์ไม่ออก ไม่มีสี
ปัญหาจากการอุดตันของตัวตลับหมึก ควรเลือกซื้อเครื่องที่หัวพ่นหมึกอยู่ในตลับจะดีกว่า เวลาเปลี่ยนจะได้เปลี่ยนพร้อมกันไป (ราคาจะแพงกว่าสักนิด) สำหรับวิธีป้องกันปัญหาได้บ้างคือ หลังจากมีการเปลี่ยนตลับหมึกแล้ว ควรใช้ให้หมด ไม่ควรถอดออกมาเพราะจะทำให้อุดตัน สำหรับการทดสอบ แก้ไขให้ลองล้างหัวเข็ม ผ่านคำสั่งในโปรแกรม หรือผ่านทางเครื่องพิมพ์โดยตรง(คงต้องอ่านคู่มือดูแต่ละรุ่นอีกทีน๊ะครับ)
พิมพ์ออกมาสีเพี้ยน
หมึกหมดครับ สีใดสีหนึ่งอาจหมด ทำให้สีที่ผสมออกมาไม่สมบูรณ์ การแก้ไขให้เปลี่ยนตลับหมึก Inkjet บางรุ่นสามารถเปลี่ยนตลับสีแยกเป็นสีๆ ได้ด้วย ช่วยให้ประหยัดเงินได้มากขึ้น แต่ถ้าไม่ใช่เพราะคุณเพิ่งเปลี่ยนตลับหมึก ให้ทดสอบโดยใช้วิธีการล้างหัวเข็ม อาจล้างผ่านคำสั่งในโปรแกรม หรือผ่านทางเครื่องพิมพ์โดยตรง(คงต้องอ่านคู่มือดุแต่ละรุ่นอีกทีน๊ะครับ)

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser)


พิมพ์ไม่ออก สีจาง
ปัญหาอย่างหนึ่งคือ ผงหมึกไม่อยู่ในแนวราบ ให้เอาตลับหมึกมาเขย่า ๆ(แนวราบ) อ้อ! ถ้าเป็นตลับใหม่ อย่าลืมดึงแผ่นพลาสติกที่กั้นผงหมึกไวด้วย มิฉะนั้นอาจพิมพ์ไม่ติดเลย
พิมพ์ยังไงก็ไม่ออก
สาเหตุอาจมาจากกระดาษติดครับ ผมพบบ่อยมากถึงมากที่สุด ให้ลองถอดตลับผงหมึกออกมา สังเกตว่ามีกระดาษติดหรือไม่ ถ้ามีให้ระวังเรื่องการดึงกระดาษโดยดูจากคู่มือเรื่องทางเดินของกระดาษ ให้ดึงไปตามเส้นทางของทางเดินกระดาษ
ฟันเฟืองของเครื่องพิมพ์จะได้ไม่หัก (เฟืองแต่ละตัว ราคาค่อนข้างแพงครับ)
พิมพ์แล้วสกปรก มีลายเส้น
ตัวลูกกลิ้งสกปรก ให้เปิดเครื่อง เอาตลับผงหมึกออก และทำความสะอาดลูกกลิ้งดู สาเหตุอีกอย่างหนึ่งคือตัวตลับไม่ได้มาตรฐาน (อาจเกิดจากตลับที่มีการนำมาใช้ใหม่) ควรตรวจดูก่อน
นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว การตรวจสอบปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์อีกวิธีหนึ่งที่ค่อนข้าง่ายและมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับที่น่าพอใจคือ การใช้โปรแกรมตรวจสอบปัญหา เช่น Norton Utilities หรือ First Aid เป็นต้น เพียงแค่คุณติดตั้งโปรแกรมเหล่านี้ จากนั้น run โปรแกรมดู (เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี Brand ดี ๆ อาจมีโปรแกรมตรวจสอบปัญหาแถมมาให้ด้วย)

ปัญหาเครื่องพิมพ์เอกสาร (ภาค 1 )



เครื่องพิมพ์ชนิดหัวเข็ม (Dot matrix)
พิมพ์ติดขัดเป็นประจำ
ปัญหาที่พบส่วนใหญ่มีเศษกระดาษ ผงกระดาษ หรือ Clip ตกลงไป ให้ถอดมาทำความสะอาด และอีกอย่างหนึ่งที่มีปัญหาบ่อยคือ แผงกั้นระหว่างหัวพิมพ์กับกระดาษอาจชำรุด ให้หาซื้อมาเปลี่ยนเอง (จะได้ราคาถูกกว่า ไม่เสียค่าแรงด้วย)
สีจางมาก ทั้งๆ ที่เปลี่ยนตลับผ้าหมึกใหม่
เรื่องนี้ผมก็พบบ่อยเหมือนกัน ปัญหานี้แก้ไขโดยการเลื่อนคันโยก ปรับตำแหน่งของการพิมพ์ให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง
(เช่น หมายเลข 0-1 สำหรับการพิมพ์กระดาษ 1 แผ่น , หมายเลข 2-3 กระดาษมีสำเนา 2 แผ่น เป็นต้น)
พิมพ์กระดาษต่อเนื่อง แล้วไม่เลื่อน
ตรวจสอบคันโยกว่าปรับตำแหน่งใด ปกติจะมี 2 ตำแหน่งคือ แบบกระดาษ 1 แผ่น และแบบกระดาษต่อเนื่อง
หัวเข็มหัก (คงต้องส่งซ่อม)
สาเหตุที่พบมากคือ ปรับความใกล้ไกลเวลาพิมพ์กระดาษที่มีความหนาต่างๆ ไม่ถูกต้อง ลองศึกษาจากคู่มือดู และอีกอย่างหนึ่งผ้าหมึกถ้าจางแล้วให้รีบเปลี่ยน อย่าฝืนใช้ เพราะจะทำให้หัวเข็มชำรุดได้ง่าย