...ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ..จากทีมศูนย์สารสนเทศ.รพ.รร.จปร..

การแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์



สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1 นำแผ่นดิสก์ที่มีไวรัสอยู่มาใช้งาน จะทำให้ไวรัสเข้าไปอาศัยอยู่ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์
- หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีฮาร์ดดิสก์ติดไวรัสไปด้วยและเมื่อนำเอาแผ่นดิสก์ใหม่มาใช้งานอีกก็จะทำให้ติดไวรัสไปเช่นกัน
- หากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีฮาร์ดดิสก์ หากมีการนำแผ่นดิสก์อื่น ๆ มาใช้งานในขณะที่มีไวรัสอาศัยอยู่ในหน่วยความจำ ไวรัสก็จะแพร่กระจายเข้าสู่แผ่นดิสก์นั้นด้วย
2 ไวรัสสามารถแพร่กระจายไปตามระบบสื่อสารของคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบ LAN , MODEM เป็นต้น
สำหรับชนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มีในปัจจุบันนั้นไม่สามารถบอกจำนวนชนิดได้แน่นอน เนื่องจากไวรัสคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังมีจำนวนชนิดที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดไวรัสคอมพิวเตอร์นั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น ในเรื่องของธุรกิจการค้าการจำหน่ายโปรแกรมนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการป้องกันการก๊อปปี้เพื่อให้การจำหน่ายโปรแกรมสามารถทำกำไรให้แก่ผู้ผลิตหรือจำหน่ายได้เต็มที่หรือในกรณีที่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องการทดสอบวิชาที่ตัวเองได้ศึกษามา เป็นต้น
แหล่งข้อมูล:( http://home.kku.ac.th/regis/student/virus/new_page_2.htm)

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์



1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (boot sector virus)
2. ไฟล์ไวรัส (file virus)
3. มาโครไวรัส (macro virus)
4. โทรจัน (Trojan)
5. หนอน (Worm)

ประวัติของไวรัส




ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1969) ทีมวิศวกรของ Bell Telephone Laboratories ได้สร้างเกมชื่อว่า "Darwin"เป็นโปรแกรมแรกที่มีรูปแบบของไวรัส เกมนี้ใช้คำศัพท์บางอย่างที่มีคำว่า "supervisor"มีลักษณะที่กำหนดกฎเกณฑ์การต่อสู้ระหว่างผู้เข้าแข่งขันจุดประสงค์หลักของเกมนี้ก็คือลบโปรแกรมทั้งหมดที่คู่แข่งเขียนและครอบครองสนามรบ
ต้นปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) พบไวรัส Creeper ในเครือข่าย APRAnet ของทหารอเมริกา ถือเป็นต้นแบบ
ไวรัสคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โปรแกรม Creeper สามารถเข้าครอบครองเครือข่ายผ่านโมเด็มและส่งสำเนาตัวเองไปที่ฝั่งremote ไวรัสนี้ทำให้คนรู้ว่าติดไวรัสด้วยการ broadcast ข้อความ "I'M THE CREEPER ... CATCH ME IF YOU CAN"
ปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โปรแกรมชื่อ "Rabbit" โผล่ขึ้นมาบนเครื่องเมนเฟรมที่เรียกชื่อนี้เพราะมันไม่ได้ทำอะไรนอกจากสำเนาตัวเองอย่างรวดเร็วไปในระบบเก็บข้อมูลชนิดต่างๆ Rabbitนี้ได้ดึงทรัพยากรของระบบมาใช้อย่างมากทำให้การทำงานกระทบอย่างรุนแรงจนอาจทำให้ระบบทำงานผิดพลาดได้
ปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) พบไวรัสชื่อ "Elk Cloner" นั้นเป็นคอมพิวเตอร์ไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรก ซึ่งแพร่กระจาย คือในวงที่กว้างออกไปกว่าภายในห้องทดลองที่สร้างโปรแกรม เพราะทำให้การแสดงภาพที่จอกลับหัว ทำตัวอักษรกระพริบ, ขึ้นข้อความต่างๆออกมา
ปี พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Len Adleman แห่งมหาวิทยาลัย Lehigh ตั้งคำว่า "Virus" ว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำสำเนาตัวเองได้ พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Fred Cohen บิดาแห่งไวรัสศาสตร์ (Virology) ได้ใช้คอมพิวเตอร์ VAX 11/750 สาธิตว่าโปรแกรมไวรัสสามารถฝังตัวเข้าไปใน object อื่นได้
ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ไวรัสตัวคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ สร้างโดยโปรแกรมเมอร์อายุ 19 ปี ชาวปากีสถาน
ชื่อ Basit Farooq และพี่ชายชื่อ Amjad เรียกชื่อ "Brain" ที่มีเป้าไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการรู้ระดับของซอฟต์แวร์เถื่อนในประเทศตัวเอง
ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) โปรแกรมเมอร์ชาวเยอรมันชื่อ Ralf Burger พบวิธีตรวจจับโปรแกรมที่ copy ตัวเอง โดยการเพิ่ม code บางตัวเข้าไปใน ไฟล์ COM version ที่ใช้ทดลองชื่อ Virdem
ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เกิดไวรัสระบาดที่ เวียนนา เป็นไวรัสที่ทำลายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรกที่ทำงานเต็มระบบ ส่งผลกระทบไปเกือบทั่วโลก
ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เดือนธันวาคม เกิดการระบาดใต้ดินครั้งแรกในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชื่อ
"Christmas Three" วันที่ 9 ไวรัสหลุดมาจาก เครือข่าย Bitnet ของมหาวิทยาลัย Western University ประเทศเยอรมนี ทะลุเข้าไปใน European Acadamic Research Network (EARN) เครื่องที่ติดไวรัสจะแสดงผลที่หน้าจอเป็นรูปต้นคริสต์มาสต์ และส่งไปให้ผู้ใช้อื่นๆในเครือข่าย
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) Peter Norton programmer ที่มีชื่อเสียง ผู้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Symantec ได้ออกมาประกาศว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องไร้สาระ โดยเปรียบว่าเป็นแค่จระเข้ที่อยู่ในท่อระบายน้ำเสียในนิวยอร์ก
แต่ในที่สุดเขาเป็นผู้ที่ได้เริ่มต้น project Norton-AntiVirus
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนตุลาคม มีการแพร่ข่าวไวรัสชื่อ Mr. "Rochenle" อย่างมากเป็นไวรัสประเภทหลอกลวง (HOAX) เป็นตัวแรก อ้างว่าไวรัสนี้สามารถส่งตัวเองไประหว่างโมเด็มด้วยความเร็ว 2400 bpsทำให้ความเร็ว
โมเด็มลดลงเหลือ 1200 bps และได้อธิบายวิธีการแก้ไขที่ไม่ได้มีผลอะไร แต่มีคนหลงเชื่อทำตามกันอย่างมากมาย
ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนพฤศจิกายน มีหนอนเครือข่ายชื่อ "Morris" ระบาดอย่างหนักทำให้คอมพิวเตอร์กว่า 6000 เครื่องในอเมริการวมทั้งใน ศูนย์วิจัยของ NASA ติดไปด้วย ส่งผลกระทบให้การปฏิบัติงานหยุดโดยสิ้นเชิง
เหตุเนื่องจากมี error ใน code ของ Morris ทำให้มัน copy ตัวเองไปที่เครือข่ายอื่นอย่างไม่จำกัดทำให้เครือข่ายรับไม่ไหว
การระบาดครั้งนั้นทำให้สูญเสียเป็นมูลค่ากว่า 96 ล้านเหรียญสหรัฐ
อ้างอิงจาก http://www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=135.0)

ความหมายของไวรัส



ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้นมาแต่เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อก่อกวนการทำงานของระบบเลยทำลายแฟ้มข้อมูล โปรแกรมต่างๆที่มีอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์สาเหตุที่ได้มีการเรียกชื่อกันว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เนื่องมาจากคำว่า ไวรัส มีความหมายว่าเป็นเชื้อโรคที่สามารถแพร่ระบาดและติดต่อได้อย่างรวดเร็ว สามารถหลบซ่อนตัวไว้อยู่ในหน่วยความจำและจะอยู่ในหน่วยความจำตลอดจนกว่าจะปิดเครื่อง เมื่อมีการนำแผ่นบันทึกอื่นๆมาใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไวรัสหลบซ่อนอยู่ในหน่วยความจำแผ่นบันทึกแผ่นนั้นก็จะติดไวรัสไปด้วย
กำเนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์
กำเนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นโดย 2พี่น้องชาวปากีสถานมีชื่อว่า อัมจาด และเบซิต ซึ่งทั้ง2พี่น้องเปิดร้านขายคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็ได้มีการปล่อยไวรัสเบรน (Brain) ไว้ในโปรแกรมที่ลูกค้ามาก๊อปปี้ไปใช้งานด้วยประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ ไวรัสที่ติดอยู่ในบูตเซกเตอร์ ไวรัสที่ติดตารางพาร์ติชั่น ไวรัสที่ติดในแฟ้มการติดต่อของไวรัสคอมพิวเตอร์มี 2 ทาง คือ ดิสก์และสายสื่อสาร
(อ้างอิงข้อมูลจาก http://petsai.212cafe.com/archive)

ไวรัสคอมพิวเตอร์



จำความได้ตั้งแต่เริ่มเล่นคอมพิวเตอร์วันแรก ใคร ๆ ก็บอกให้ระวังไวรัส จะใช้งานคอมพิวเตอร์กันสักครั้งก็ต้องคอยระวังไวรัส ไวรัสสมัยแต่แรกจะระบาดผ่านทาง Floppy Disk กันเท่านั้น ซึ่งเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ไม่มีใครคิดหรอกครับว่าสามารถเอาข้อมูลใส่แผ่น CD ได้ ดังนั้นเมื่อก่อนไวรัสจะแพร่กระจายช้า และมีอยู่ไม่กี่รูปแบบ สามารถป้องกันได้ หากไม่ให้ใส่แผ่น Floppy Disk ไวรัสก็ไม่สามารถเข้าเครื่องได้แล้ว
ผ่านมาเกือบ 20 ปี สิ่งที่คิดว่าสูงเกินเอื้อม กลับมีไว้ในครอบครอง สิ่งที่คิดว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับคนรวย กลับมีใช้กันอย่างสามัญ ตัวไวรัสก็เช่นกัน จากที่ระบาดเฉพาะแผ่น Floppy Disk กลายเป็นระบาดผ่าน ThumbDrive (Flash Drive)จากที่ระบาดจากเครื่องไปสู่เครื่อง กลายเป็นระบาดจากเครื่องไปสู่องค์กร ทั่วทุกมุมโลกในพริบตาตัวไวรัสเองก็มีหลายรูปแบบขึ้น แต่จุดมุ่งหมายหลักส่วนใหญ่มักประสงค์ร้าย กับคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หากดูข่าวว่ามีไวรัสระบาดที่อเมริกาเมื่อ 5 นาทีที่ผ่านมา คุณอาจเห็นว่ามันไกล แต่ด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันจากทั่วทุกมุมโลกเจ้าไวรัสที่ระบาดในอเมริกาเมื่อ 5 นาทีนั้นอาจอยู่ในเครื่องของคุณแล้วด้วย
(อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.gimyong.com/it/virus1.php)

ข้อแนะนำในการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น



การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ จะแบ่งออกเป็นหลักๆได้ 2 อย่าง คือ ดูแลทางด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware)พวกอุปกรณ์ต่างๆภายใน ภายนอกคอมพิวเตอร์ และ ซอฟแวร์ (Software) พวกโปรแกรมที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ว่าไปแล้วน่าจะแบ่งเป็น 3 อย่าง อีกอย่างคือ พีเพิลแวร์ (Peopleware) คือ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์
1.การดูแลรักษา ทางด้านฮาร์ดแวร์( Hardware )
หลักๆมีไม่กี่อย่าง สรุปเป็นข้อๆ ดังนี้
1.1 เรื่องความสะอาดภายในเครื่อง คือ ฝุ่น, ใยผ้า, ใยแมงมุม, เส้นผม พวกนี้มันจะไปเกาะอยู่ที่ซิงค์ระบายความร้อน ทำให้การระบายความร้อนของอุปกรณ์ไม่ดีเท่าไหร่ ควรดูแลทำความสะอาด เรื่องนี้ให้ความสำคัญมากหน่อย รับรองอายุการใช้งานมากขึ้นแน่นอน
1.2 ที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ ที่เราไปวางไว้เป็นมุมอับ การระบายความร้อนจะไม่ดีเท่าที่ควร แนะนำ อย่าวางใกล้ชิดติดกำแพง หรือไปวางในมุมอับ ควรเป็นมุมที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จะดีที่สุด ถ้าไม่มีมุมที่ตั้งจริงๆ ก็เอาพัดลมเป่าช่วยก็ได้
1.3 สังเกตสิ่งผิดปกติของอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ ลอง เปิดฝาข้างๆคอมพิวเตอร์ออกมา สังเกตดูภายใน ตัวอุปกรณ์ ว่ามีรอยไหม้ หรือที่ตัวอุปกรณ์อิเลิกทรอนิคส์ เช่น ตัวคาปาซิสเตอร์ ( ตัวทรงกระบอกที่หัวมีกากบาทที่บนหัว ) ว่ามันบวมๆ ทำถ้าจะพุพองออกมารึเปล่า มีน้ำยาเยิ้มออกมาไหม ถ้าเจอว่ามี รีบส่งซ่อมเลย เดี๋ยวคอมพิวเตอร์เราจะเสียมากกว่าเดิม แล้วก็พวกพัดลมต่างๆในเครื่องว่าหมุนดี ทุกตัวรึเปล่า ตัวไหนหยุดหมุน ก็เปลี่ยนได้ ไม่จำเป็นถึงขั้นต้องซื้อเครื่องคอมใหม่ แต่ถ้าปล่อยไว้นาน ก็อาจต้องซื้อใหม่ได้
2.การดูแลรักษา ทางด้านซอฟแวร์ ( Software )
เรื่องซอฟแวร์ ยากเหมือนกันนะ มีโอกาสเจอได้หลายรูปแบบ อธิบายยากอยู่ แต่เอาแค่ ข้อระมัดระวัง ดูแลรักษาเบื้องต้นดีกว่า ง่ายๆทำได้เอง ไม่เป็นไม่ค่อยรู้เรื่องก็ยังทำได้บ้าง แล้วค่อยเรียนรู้ต่อไป
2.1 การลงโปรแกรม อันไหนไม่ใช้ก็ไม่ต้องลง ลงเฉพาะที่เราใช้ เป็นดี เอาโปรแกรมเข้าๆออกๆ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ บางทีเครื่องอืดไปเลยก็มี แฮงค์ๆค้างๆ บางโปรแกรมกลับใช้ไม่ได้อีก อะไรประมาณนี้ ทางที่ดีก็ลงเท่าที่ใช้เป็นดี พวกเกมก็เหมือนกัน กินพื้นที่ในฮาดส์ดิสเยอะ เดี๋ยวพื้นที่จะน้อยเกินไปจนวินโดว์ทำงานไม่ได้ โดยเฉพาะในไดร์ซี ระวังๆตรวจสอบดูพื้นที่เหลือบ้าง ก่อนจะลงโปรแกรมอะไรลงไป
2.2 การเก็บข้อมูล ข้อมูล เอกสาร ไฟล์ต่างๆที่เราจะเก็บไว้ แนะนำอย่าไปเก็บในไดร์ซี ให้เก็บไปไว้อีกไดร์ ที่เราได้แบ่งฮาดส์ดิสเอาไว้ เป็นที่สำรองข้อมูลของเราดีที่สุด ปกติไดร์ซี เป็นไดร์ที่ลงโปรแกรมเสมอ เวลามีปัญหาไดร์ซีก็โดนก่อน ฉะนั้นอย่าไปเก็บเลยนะค่ะไดร์ซี ไปไว้ที่อื่นแทน จะได้ข้อมูลไม่หายกัน ไดร์ซีก็ไม่เต็มเร็วด้วยนะค่ะ โดยเฉพาะ เพลง กับ หนัง เนี่ย กินพื้นที่เยอะเนอะ
2.3 รู้จักสังเกตโปรแกรมแปลกๆ โปรแกรมแปลกๆที่เราไม่เคยเห็นในเครื่องเราตั้งแต่แรกๆที่เราใช้ ถ้ามีมา แล้วรู้ว่าเป็นโปรแกรมอะไร ถ้าไม่จำเป็นก็เอาออกไปเลยค่ะ ฉันว่ามันเด้งน่ารำคาญใจดีแท้ แต่ถ้าจะเอาไว้ใช้ประโยชน์ก็ไม่ว่ากัน บางทีติดมากับตอนที่เราเล่นเน็ต ตอนที่เราคลิก Yes Ok เนี่ยหละค่ะ คลิกแบบไม่ได้อ่านว่ามันคืออะไร หรือว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจแปลไม่ออก เลย Yes Ok ไว้ก่อน แต่ถ้าไม่รู้จริงๆว่ามันคือโปรแกรมอะไรก็เอาไว้ก่อน อย่าเอาออกมั่วนะค่ะ เดี๋ยวจะแย่เอา ดันเป็นโปรแกรมที่เราใช้งานซะอีกแย่เลยนะนั่น
2.4 เวปยอดฮิตว้าว เวปโป๊ค่ะ เวปโปรแกรมพวกแฮกเกอร์ (พวกเจาะระบบ) เป็นต้นค่ะ ไวรัสคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่เราไม่พึงประสงค์ มันจะมากับเวปพวกนี้เยอะอยู่ ก็ถ้าอยากเข้าก็หาวิธีป้องกันไว้บ้างก็ดี หรือเวลามีข้อความแสดงให้ Yes หรือ No ก็อ่านหน่อย อย่าคลิกมั่ว บางทีมีหลอกให้เราคลิกก็มี เพราะโดยส่วนใหญ่พวกเราเห็นแบบนี้ คลิกYes ไว้ก่อนเสมอเลย แย่เลยค่ะ ติดไวรัส ติดสปายแวร์ ติดโปรแกรมที่เราไม่พึงประสงค์ เข้ามาในคอมพิวเตอร์เราเฉยเลย ดูดีๆ ก่อนคลิก อ่านก่อนเด้อ
2.5 ติดโปรแกรมพวกป้องกัน ดักจับ ไวรัส โปรแกรมจำพวกนี้ควรที่จะมีในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา มีหลายแบบ ทั้งเสียเงิน ไม่เสียเงิน ก็มี ชอบตัวไหนก็ตามสบายเลยค่ะ แต่ที่แนะนำช่วงนี้ ก็มี NOD32 ลองไปหามาเล่นล่ะกันนะค่ะ ฉันว่าน่าใช้ดี เครื่องไม่อืดด้วย มีโปรแกรมแล้ว อย่าลืมอัพเดตข้อมูลไวรัสให้โปรแกรมด้วยหละจะได้รู้จักไวรัสตัวใหม่ๆบ้าง ไวรัสมันเกิดก่อน ตัวป้องกันจะมา ก็ระวังบ้างก็ดี ถ้าป้องกันแล้วยังโดนอีก ก็เนอะ ถือเป็นเรื่องปกติ ทำใจค่ะ แก้กันไป แต่ฉันว่า ไวรัส กับ คอมพิวเตอร์ เป็นเนื้อคู่กันนะ ขาดกันไม่ได้
2.6 การดูแล และ บำรุงรักษาระบบ ขั้นพื้นฐาน อันนี้ทำได้สม่ำเสมอเป็นดีค่ะ โปรแกรมก็ไม่อืด ไม่ช้า เป็นการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไปในตัวด้วยนะค่ะ สิ่งที่ทำก็คือ Disk Cleanup ( เก็บกวาดขยะบนฮาร์ดดิส ), Check disk ( ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิส ) และ Disk Defragmenter ( จัดเรียงข้อมูลเพื่อเร่งความเร็ว )
3.พีเพิลแวร์ ( Peopleware )
บุคคลที่ใช้งาน คอมพิวเตอร์ ในส่วนตัวฉันแล้วฉันว่า อันนี้ ควรดูแลมากที่สุดเลยนะเนี่ย คนเนี่ยหละทำให้เสียบ่อย เรามาว่ากันค่ะว่าอะไรบ้างที่ควรรู้ ควรกระทำ ควรแก้ไข ลองมาสรุปกันนะค่ะ
3.1 รักการอ่าน อ่านค่ะ มีไรเด้งมา อ่านสักนิด จะได้รู้ ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ดิกชินนารี ก็เปิดแปลได้ค่ะ ทำบ่อยๆอีกหน่อยเดี๋ยวก็รู้เอง คำศัพท์มันจะซ้ำๆกัน แล้วจะรู้ว่าจะทำยังไงต่อไป ถ้าแปลไม่ได้จริงๆ ไม่เข้าใจก็ถามคนที่รู้ คนที่เก่งคอมพิวเตอร์แล้วเรียนรู้การใช้งานได้ไว ส่วนใหญ่ที่ฉันเจอรักการอ่านทั้งนั้นเลยนะค่ะ อ่านสักหน่อยรับรองใครไม่รู้เรื่องคอม เก่งเลย
3.2 อารมณ์ ประเภทเปิดไม่ทันใจ หรือค้าง ก็เคาะคีย์บอร์ดแรงๆ กระแทกเมาท์แรงๆ ดับเบิ้ลคลิกซอยๆ ถ้าทำแล้วมันแก้ไขได้ทำต่อเลยจ๊ะ อันนี้ประชดนะค่ะ เรื่องนี้ก็ควบคุมกันหน่อย คอมพิวเตอร์มีปัญหาต้องใช้สติปัญญาแก้ไขว่าเป็นเพราะอะไรแล้วแก้ไขให้ถูกที่ ไม่ได้ใช้อารมณ์แก้ไข มาตบๆกระแทกๆ สงสารคอมพิวเตอร์มันนะค่ะ
3.3 มั่ว เจอบ่อยค่ะประเภท ไม่รู้ แล้วมั่ว ไหนจะมั่วก็มั่วแบบมีหลักการหน่อย ที่จริงไม่รู้ก็ถาม อย่าทำมั่ว โดยเฉพาะเรื่องการต่ออุปกรณ์ การใช้งานอุปกรณ์ หรือ ต่ออุปกรณ์เสริมต่อพ่วงต่างๆ ก่อนใช้งาน ดูคู่มือสักนิด ก่อนใช้งานสักหน่อย ไม่ใช่ว่าเจอรูเป็นเสียบอย่างนี้ไม่เอานะค่ะ เผื่อผิดเดี๋ยวอุปกรณ์พังกันเป็นแถบๆ ช่องเสียบใส่ไม่เข้าเล่นจับอัดเข้าไปแบบนี้เป็นต้น อุปกรณ์พังหมดค่ะ ศึกษาคู่มือสักนิดก่อนใช้งานนะค่ะ
“ คอมพิวเตอร์ ไม่ยากอย่างที่คิด แค่คลิก กับอ่าน ก็เก่งแล้วจ้า ! ”
แหล่งที่มา : http://www.vehicle.co.th